กลิ่นปากเกิดจากการมีเศษอาหารตกค้าง หมักหมมอยู่ในปาก ขาดความเอาใจใส่ของเจ้าของปาก จุลินทรีย์จะเป็นตัวทำให้อาหารที่ตกค้างบูดเน่าส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งแม้ว่าจะใช้น้ำยาบ้วนปาก หรือยาอมชนิดใดก็ช่วยเหลือไม่ได้ เพราะเศษอาหารสาเหตุของกลิ่นยังคงอยู่ ไม่เว้นแม้แต่การที่มีโรคในช่องปากนั้น ไม่ว่าจะเป็นโรคฟันผุหรือโรคปริทันต์ ต้องรักษาให้ถูกต้อง สาเหตุของกลิ่นปากส่วนใหญ่เกิดจากเกิดจาก
1.โรคฟันผุ จะมีฟันที่เป็นรูหรือเป็นโพรงแล้วไม่ไปรับการรักษา รูหรือโพรงเหล่านี้จะเป็นที่กักเก็บเศษอาหาร แม้จะแปรงฟันแล้วก็ตาม การแปรงฟันจะทำความสะอาดลงไปในส่วนที่ผุไม่ได้ ซึ่งกำจัดต้นเหตุของกลิ่นไม่ได้ ยิ่งถ้าฟันผุมากจนมีแผลฝีที่รากฟันก็จะมีกลิ่นที่น่ารังเกียจมากขึ้น
2.โรคปริทันต์ การมีหินน้ำลาย เหงือกอักเสบ ปริทันต์อักเสบ เหงือกร่น มีหนอง เกิดจากโดยปกติไม่ค่อยทำความสะอาดฟัน หรือทำแต่ไม่ถูกวิธี พอมีเหงือกร่นเศษอาหารจะติดมีการหมักหมมเกิดกลิ่นปากเช่นกัน เพิ่มกลิ่นเลือดและหนอง จะเป็นการเพิ่มทวีความรุนแรงของกลิ่นให้มากขึ้น บางครั้งการแปรงฟันอย่างเดียวอาจจะช่วยได้ไม่เต็มที่ บางครั้งอาจจำเป็นต้องพึ่งยาปฎิชีวนะ ร่วมกับยาอมบ้วนปากฆ่าเชื้อโรคด้วย
3.เมื่อเกิดสภาวะผิดปกติในปาก เช่น ยามที่เจ็บป่วยเรื้อรังมักจะมีอาการขาดน้ำ น้ำลายน้อยข้นเหนียว ลิ้นเป็นฝ้าจะทำให้เศษอาหารตกค้างได้มากก็เกิดกลิ่นได้เช่นกัน
4.ในกรณีที่ใส่ฟันปลอมที่ผิด หรือฟันปลอมดีแต่ดูแลไม่ถูกต้องนั้นจะก่อให้เกิดปัญหา เพราะมักจะมีเศษอาหารเข้าไปติดได้ และทำความสะอาดยาก เกิดหมักหมมมีกลิ่นได้ บางครั้งฟันปลอมนั้นดีและถูกต้องเพราะทำขึ้นโดยทันตแพทย์ แต่ขาดการดูแลเอาใจใส่เรื่องความสะอาด เช่น ถ้าเป็นชนิดถอดได้แต่ไม่ถอดออกมาทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ หรือเป็นชนิดติดแน่น แต่ไม่ทำความสะอาดหมดจดจริง ๆ ก็เป็นแหล่งเกิดกลิ่นได้อย่างมากมาย
5.การสูบบุหรี่ นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั่วไปแล้ว ยังเป็นปัจจัยเสริมให้เป็นโรคปริทันต์รุนแรงมากขึ้นด้วย กลิ่นของบุหรี่ที่ตกค้างอยู่ในช่องปากผสมกับกลิ่นอื่น ๆ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเฉพาะขึ้นได้
6.การมีแผลในปาก แผลการถอนฟัน แผลผ่าตัด ที่ดูแลไม่ถูกต้องอาจทำให้มีเลือดซึมปนกับอาหาร ประกอบกับการไม่ได้ให้ฟันข้างเคียงที่มีบริเวณแผลเคี้ยวอาหาร และยังทำความสะอาดลำบาก ก็จะทำให้มีเชื้อโรคเกิดขึ้นมากกว่าปกติ ทำให้เกิดกลิ่นปากได้ นอกจากนี้แผลเรื้อรังในช่องปาก เช่น แผลมะเร็ง แผลวัณโรค แผลจากโรคซิฟิลิสเป็นตัวการของกลิ่นที่รุนแรงได้เช่นกัน ได้แก่ การรับประทานอาหารบางประเภทที่มีกลิ่นรุนแรง อาหารเหล่านี้ได้แก่ อาหารพวกหอม กระเทียม ชะอม ปลาร้า ปูดอง แอลกอฮอลล์ ทุเรียน เป็นต้น กลิ่นจะตกค้างอยู่ในช่องปาก และทางเดินอาหารส่วนอื่น ๆ เมื่อเรอออกมาก็จะมีกลิ่นเฉพาะของอาหารพวกนี้ออกมาด้วย เมื่อร่างกายดูดซึมสารที่ทำให้เกิดกลิ่นเหล่านี้เข้าไปในทางเดินกระแสโลหิต และขับออกมาทางลมหายใจ จึงทำให้มีกลิ่นปนออกมากับลมหายใจด้วย
ทั้งนี้แม้ในช่องปากจะทำความสะอาดอย่างดีแล้วก็ตาม และกลิ่นปากยังอาจเกิดจากโรคระบบอื่นของร่างกาย เช่นไซนัสอักเสบ ซึ่งเป็นการอักเสบของโพรงอากาศในกระดูกของใบหน้าที่มีการติดเชื้อจะส่งกลิ่น รุนแรง นอกจากนั้นยังมีโรคทอลซิลอักเสบเรื้อรัง วัณโรคปอด โรคกระเพาะอาหาร
ความรุนแรงของกลิ่นขึ้นอยู่กับสภาวการณ์และสาเหตุที่เอื้อให้เกิดกลิ่นมากน้อยในระดับที่แตกต่างกัน บาง รายมีปัจจัยที่เอื้อหลายๆสาเหตุก็จะทำให้มีกลิ่นปากรุนแรงมากกว่า เช่น คนป่วยที่เป็นโรคมะเร็งหรือเป็นไซนัสอักเลบ และมีโรคปริทันต์ร่วมด้วย กลิ่นปากก็จะทวีความรุนแรงมากกว่าคนที่เป็นโรคปริทันต์เพียงอย่างเดียว ตัวเองจะต้องดูแลอนามัยช่องปากให้สะอาด และรักษาสภาวะในช่องปากให้เป็นปกติ หากมีสภาพเหงือกหรือฟันที่เป็นโรค ควรรีบรักษา ในกรณีที่มีฟันเก มีซอกเหงือกหรือร่องเหงือกที่ทำให้มีเศษอาหารตกค้าง ควรใช้ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดที่บริเวณนี้เพิ่มขึ้น จากการแปรงฟัน ลิ้นก็ควรแปรงให้สะอาดและแปรงให้ถึงโคนลิ้น และควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันอาการปากแห้ง
เราสามารถป้องกันกลิ่นปากโดยการทดสอบอย่างง่าย ๆโดยทั่วไป จะใช้วิธีการเอามือปิดปากและจมูก เป่าลมแรง ๆ ออกจากปาก และดม ซึ่งบางคนก็สามารถบอกได้ว่ามีกลิ่นปากหรือไม่ หรือจะใช้วิธีเลียที่ข้อมือ และดมดู ในบางคนอาจจะใช้นิ้วมือถูที่บริเวณเหงือก แล้วนำมาดมกลิ่นว่าเหม็นหรือไม่ เมื่อทดสอบดูแล้วพบว่ามีกลิ่นปากดังกล่าวในข้างต้นก็สามารถที่จะป้องกันได้ตามสาเหตุที่เป็นเช่นในกรณีมีฟันผุเป็นรูหรือโพรงซึ่งสามารถไปรับการรักษาโดยการอุดฟัน และการดูแลความสะอาดในช่องปากด้วยวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธี