เมื่อถึงช่วงวันออกพรรษา เรามักจะได้ยินคำว่าทอดกฐินอยู่บ่อยๆ เพราะเป็นประเพณีสำคัญของชาวพุทธเลยค่ะ ที่จะทำบุญทอดกฐินกันหลังวันออกพรรษา ซึ่งกฐินก็มีแยกออกไปทั้ง กฐินหลวง กฐินพระราชทาน และกฐินราษฎร์ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่ากฐินแต่ละแบบคืออะไร และควรทำบุญทอดกฐินที่ไหนดี วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังค่ะ
การทอดกฐิน คืออะไร
เป็นการถวายทานที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก ชื่อมหาวัคค์ เรื่อง กฐินขันธกะ (หมวดว่าด้วยกฐิน) ว่า ครั้งหนึ่งมีภิกษุชาวเมืองปาฐา หรือปาวา จำนวน 30 รูป ที่เดินทางมาด้วยหวังจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ ณ พระเชตวัน เมืองสาวัตถี พอถึงเมืองสาเกตุ ก็ถึงช่วงเข้าพรรษา จึงต้องอยู่จำพรรษา ณ เมืองสาเกตุ ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ เมื่อออกพรรษาก็รีบเดินทางไปเข้าเฝ้าทันที ทำให้น้ำหรือโคลนตมเปรอะเปื้อนจีวรในระหว่างเดินทาง พระพุทธองค์ทรงทราบถึงความลำบากของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น จึงทรงยกเป็นเหตุมีพระพุทธานุญาตให้กรานกฐิน และโปรดให้เป็นการสงฆ์สำหรับภิกษุทั่วไป ในระยะเวลาหลังวันออกพรรษาแล้วหนึ่งเดือน (ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)
ผ้ากฐิน คืออะไร
ผ้าที่จะทำเป็นผ้ากฐินได้นั้น เป็นผ้าใหม่ก็ได้, ผ้าเทียมใหม่ก็ได้, ผ้าเก่าหรือผ้าบังสุกุลก็ได้ แต่ผ้าเหล่านี้จะต้องมีพอที่จะทำไตรจีวรผืนใดผืนใดผืนหนึ่ง (ผ้าไตรจีวร ของพระสงฆ์มี 3 ผืน คือ สบง = ผ้านุ่ง, จีวร = ผ้าห่ม, และสังฆาฏิ = ผ้าซ้อนห่ม หรือผ้าพาด) ผ้านี้คือผ้าองค์กฐิน ส่วนสิ่งของอื่นๆ ไม่ใช่องค์กฐิน แต่เป็นบริวารกฐิน บริวารกฐินนี้จะมีมากหรือน้อยก็ได้ไม่มีกำหนด แล้วแต่ตามศรัทธาของผู้ถวาย
การทอดกฐินมีกี่แบบ
1. กฐินหลวง
เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะและเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์
รวมทั้งพระกฐินที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ราชสกุล องคมนตรี หรือผู้ที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรให้เสด็จฯ แทนพระองค์นำไปถวายยังพระอารามหลวงสำคัญ 16 พระอาราม ที่สงวนไว้ไม่ให้มีการขอพระราชทาน ได้แก่
1. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
2. วัดอรุณราชวราราม
3. วัดราชโอรสาราม
4. วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
5. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
6. วัดบวรนิเวศวิหาร
7. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
8. วัดสุทัศนเทพวราราม
9. วัดราชาธิวาส
10. วัดมกุฏกษัตริยาราม
11. วัดเทพศิรินทราวาส
12. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดนครปฐม
13. วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
14. วัดนิเวศธรรมประวัติ อำเภอบางปะอิน
15. วัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
16. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
2. กฐินพระราชทาน
กฐินพระราชทาน คือ พระกฐินที่ถือว่า ผ้าพระกฐิน บริขาร และบริวารกฐิน เป็นของหลวง แต่เปิดโอกาสให้ส่วนราชการ องค์กร หรือบุคคลที่สมควร ขอรับพระราชทานอัญเชิญไปถวายยังพระอารามหลวงต่างๆ นอกจากพระอารามหลวงสำคัญ 16 พระอาราม โดยตัวแทนจะต้องยื่นความจำนงขอพระราชทานผ่านไปยังกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และเมื่อถึงกำหนดกฐินกาลก็ติดต่อขอรับ ผ้าพระกฐินและบริวารพระกฐินจาก กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา เพื่อนำไปทอด ณ พระอารามที่ขอรับพระราชทานไว้
เมื่อทอดถวายเรียบร้อยแล้วผู้ขอรับพระราชทานจะต้องจัดทำบัญชีรายงานถวายพระราชกุศลในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ส่งไปยัง กรมการศาสนา เพื่อจะได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน ส่งไปยัง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูล พระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายพระราชกุศลในการที่หน่วยงาน องค์กร หรือบุคคลทั่วไป อัญเชิญผ้าพระกฐินไปถวาย ณ อารามนั้น
3. กฐินราษฎร์
คือกฐินทั่วไป ที่ประชาชนพุทธศาสนิกชนจัดกันเอง เพื่อนำผ้ากฐินและของบริวารไปถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาครบไตรมาส ณ วัดใดวัดหนึ่งที่เป็นวัดราษฎร์ (ไม่ใช่พระอารามหลวง)
ทำบุญทอดกฐินที่ไหนดี
และสำหรับคนที่อยากได้บุญกุศลครั้งใหญ่ในการร่วมทำบุญกฐินพระราชทาน เรามีงานบุญมาบอกต่อกันค่ะ โดยวัดป่านาคนิมิตต์ จะมีการสร้างพระเจดีย์ถวายแด่พระพุทธเจ้า และมีการจัดทำบุญกฐินวัดป่านาคนิมิตต์ขึ้นในปีนี้ โดยเป็นงานกฐินพระราชทาน ณ วัดป่านาคนิมิตต์ สกลนคร ในวันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม 2564 ใครที่มีจิตศรัทธาสามารถร่วมทำบุญได้ที่
กฐินวัดป่านาคนิมิตต์ 2564 ธนาคารออมสิน 020371115625
ขอบคุณข้อมูลและรูปจาก katin.dra.go.th, rmutr
LADYISSUE คือ เว็บผู้หญิงอันดับ 1 อัพเดทกระแสฮิต ทาง LINE ฟรี !
Add friend ที่ ID : @ladyissue
186 Comments
This article resonated with me on a personal level. Your ability to emotionally connect with your audience is truly commendable. Your words are not only informative but also heartwarming. Thank you for sharing your insights.
I couldn’t agree more with the insightful points you’ve articulated in this article. Your profound knowledge on the subject is evident, and your unique perspective adds an invaluable dimension to the discourse. This is a must-read for anyone interested in this topic.
I simply wanted to convey how much I’ve gleaned from this article. Your meticulous research and clear explanations make the information accessible to all readers. It’s abundantly clear that you’re committed to providing valuable content.
Your unique approach to addressing challenging subjects is like a breath of fresh air. Your articles stand out with their clarity and grace, making them a pure joy to read. Your blog has now become my go-to source for insightful content.
I couldn’t agree more with the insightful points you’ve articulated in this article. Your profound knowledge on the subject is evident, and your unique perspective adds an invaluable dimension to the discourse. This is a must-read for anyone interested in this topic.