เพราะฟันน้ำนมองลูก จะมีการสร้างตัวของฟัน ตั้งแต่แม่มีอายุครรภ์ได้ประมาณ 6 สัปดาห์ การสร้างตัวของฟันนั้น ก็ต้องการสารอาหารหลายชนิด เช่นเดียวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แร่ธาตุจำพวก แคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งจะมีผลให้ชั้นเคลือบฟัน และเนื้อฟันมีความแข็ง ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรรับประทาน อาหารให้ครบ ทั้ง 5 หมู่ เพิ่มการรับประทานอาหารที่มี แคลเซียม ฟอสฟอรัสมากๆ เช่น นมไข่ ปลาเล็กปลาน้อย
การดูแลอนามัยช่องปาก อย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์ มักจะมีพฤติกรรมการรับประทานจุบจิบ ประกอบกับ มีการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนในร่างกาย จึงให้มีโอกาสเสี่ยง ต่อการเป็นโรคฟันผุ หรือเกิดเหงือกอักเสบได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ดังนั้น จึงควรแปรงฟัน หลังรับประทานอาหารอาหารมื้อหลัก ทั้ง 3 มื้อ เพื่อให้สภาพช่องปากสะอาด ไม่เป็นโรค และในขณะตั้งครรภ์ ควรได้รับการตรวจสภาพช่องปากด้วย เพื่อรับคำแนะการดูแลรักษาความสะอาดช่องปากอย่างถูกต้อง และรับการตรวจวินิจฉัย อาการเหงือกอักเสบ หรือโรคฟันผุ ซึ่งหากตราวจพบว่าเป็นโรค จะได้ทำการรักษาในระยะเริ่มแรก เช่น การอุดฟัน การขูดหินปูน
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรไปรับบริการตรวจ และรักษาสุขภาพช่องปาก เมื่ออายุครรภ์อยู่ในช่วง 4-6 เดือน เพราะเป็นช่วงที่บรรเทาจากอาการแพ้ท้องแล้ว และครรภ์ก็ไม่ใหญ่มากเกินไป เพราะจะลำบากในการ ต้องรับการรักษาฟันนานๆ
ระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ควรปฏิบัติตนดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่างพอเพียง
- แปรงฟันทุกครั้งหลังอาการ และหลังอาเจียน หรืออย่างน้อยต้องบ้วนปากแรงๆ หลายๆ ครั้ง หลังอาเจียน
- ไปรับการตรวจรักษา และขอคำแนะนำที่ถูกต้องจากทันตแพทย์
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือ หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดเตตร้าไซคลิน เพราะจะมีผลทำให้ฟันของลูกที่กำลังสร้างมีความผิดปกติไป อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสีฟันได้โดยปกติ คุณสมบัติของยามีไว้ เพื่อใช้ในการรักษาโรค แต่ก็พบบ่อยๆ ว่า ยาหลายตัวที่มีผลต่อลูกในครรภ์มารดาได้ เพราะฉะนั้น คุณแม่ควรระวังรักษาสุขภาพของตนเองไว้ให้ดีที่สุด เพราะเมื่อสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ก็ไม่ต้องรับประทานยามาก อันตรายก็จะเกิดขึ้นน้อยไปด้วยค่ะ